บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน

ในรายวิชาอินเตอร์และการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม



วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

       Flying Cities ออกแบบโดย Vincent Callebaut สถาปนิกชาวเบลเยี่ยมหัวใส จินตนาการเมืองในอนาคต "Hydrogenase" ซึ่งเป็นเหมืองเครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ ฮีเลียม และไฮโดรเจนเป็นต้น กังหันลม และเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นคอนเซปต์ที่ทำให้ไม่ต้องเสียที่ดีที่จำเป็นสำหรับพีช และป่า
พลังจาก ฟาร์มที่มีสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็ก ซึ่งจะผลิตพลังงานไบโอดีเซล ประมาณ 1,000 ลิตร ต่อไฮโดรเจน 330 กรัมของคลอโรฟิลล์ในหนึ่งวัน

      สถาปนิกต้องการเสนอวิธีการใหม่ของการเดินทางซึ่งช้ากว่าเครื่องบิน แต่เร็วกว่ารถยนต์ และเรือ ซึ่งมะนบินที่สูง 2,000 เมตร และสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 200 ตัน ที่ 175 กม./ชม.
      
โครงสร้างประกอบไปด้วยส่วนตัวอาคารที่ลอยอยู่ และส่วนฐาน อาคารที่ลอยอยู่จะมีแกนเกรียวที่มีกังหันลมบิดไปตามโครงสร้างที่สูง 400 เมตร ซึ่งแบ่งการใช้งานออกเป็น 4 ส่วน คือ ที่อยู่อาศัย สำนักงาน ห้องปฏิบัติการ และสถานบันเทิง



บ้านในอนาคต

บ้านสุดล้ำแห่งอนาคตจากดิสนีแลนด์
ตั้งแต่ปี 1967 ดิสนีย์ให้กำเนิดคอนเซ็ปต์ "House of the Future" หรือบ้านแห่งอนาคต จากการจัดนิทรรศการโชว์ เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าสมัยในยุคนั้น …




ล่าสุดดิสนีย์แลนด์ขยับตัวอีกครั้ง โดยวางแผนที่จะสร้าง "House of the Future" เวอร์ชั่นใหม่ ในบริเวณสวนสาธารณะ Tomorrowland ที่ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ต แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในครั้งนี้ทุ่มงบฯลงทุนกว่า 15 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมจับมือยักษ์ใหญ่แถวหน้าของวงการไอที ไม่ว่าจะเป็นไมโครซอฟท์, ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี), ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ LifeWare และผู้รับสร้างบ้าน Taylor Morrison เพื่อนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเทรนด์ใหม่ล่าสุดในศตวรรษที่ 21 มาจัดแสดง โดยคาดว่าจะเปิดให้เข้าชมได้ช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้

House of the Future ใหม่ มีพื้นที่ประมาณ 5,000 ตารางฟุต มองผิวเผินภายนอกลักษณะเหมือนบ้านที่อยู่ตามชนบททั่วไป ทำจากไม้และเหล็ก แต่ภายในจะแสดงเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือแม้แต่ระบบทัชสกรีนที่ทันสมัยและสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของคน อาทิ ระบบไฟฟ้าหรือเครื่องควบคุมความร้อนซึ่งจะเปิด-ปิดอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้งานก้าวเข้า-ออกห้องต่างๆ กระจกและตู้เสื้อผ้าสามารถแยกแยะเสื้อผ้าหรือแนะนำชุดที่ควรใส่เพื่อให้เหมาะกับงานต่างๆ เลือกสีชุดให้เข้ากันหรือสามารถบอกได้ว่าเสื้อผ้าชุดใดกำลังส่งซักอยู่

แหมถ้าบ้านในอนาคตมันแพงขนาดนี้ขออยู่รูหนูของเราต่อไปก่อนละกันอ่ะ
ที่มา 
บ้านล่องสมุทร : Floating Home

บ้านล่องสมุทร : Trilobis 65 Floating Home


           ผมนำเสนอบ้านแบบต่างๆ ในแนวทางอนุรักษ์นิยมและเศรษฐกิจพอเพียงมาพอสมควร เพราะต้องการให้เกิดค่านิยมใหม่ ในการสร้างที่อยู่อาศัย ให้มีความน่าอยู่ เป็นบ้าน ไม่ใช่ความหรูหรา ความใหญ่โต หรือสร้างเป็นอนุสรณ์ของครอบครัว แต่ไม่น่าอยู่ น่าจะเป็นวังหรือพิพิธภัณฑ์ เสียมากกว่า 


         ในตอนนี้ มานำเสนอเรื่องของบ้านลอยน้ำ ที่มีรูปแบบตรงกันข้าม ก็ไม่ได้ต้องการให้เปลี่ยนแนวความคิด หรือค่านิยมตามนะครับ มานำเสนอในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่และการออกแบบมากกว่า ให้ดูจินตนาการของเขา ประดับความรู้เท่านั้น เพราะเรื่องนี้เคยเขียนไว้ในเรื่อง บ้านแบบยั่งยืนแล้วว่าแนวทางบ้านอนาคตนั้นพัฒนาไปได้ 2 ปีก คือแบบก้าวหน้าล้ำสมัย (แต่ไม่ยั่งยืน) และแบบหวนคืนสู่ธรรมชาติแบบยั่งยืน ซึ่งเหมาะกับเรามากกว่าแต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะต้องปฏิเสธการรับรู้เรื่องของเทคโนโลยี่ ความก้าวหน้าไปเสียทั้งหมด เรามาดูบ้านลอยน้ำกันเลยดีกว่า






          บ้านลอยน้ำนี้ออกแบบให้เป็นบ้านที่ลอยน้ำอยู่ในทะเล แต่ก็มีส่วนที่อยู่ในน้ำด้วย เพราะของที่ลอยน้ำทั้งหลาย ย่อมมีส่วนหนึ่งที่อยู่ใต้น้ำตามน้ำหนักของมัน ดังนั้นเขาก็ออกแบบส่วนใต้น้ำให้เป็นประโยชน์ด้วยทั้งหมด โดยนาย Giancarlo Zema สถาปนิกทางเรือชาวอิตาลี ได้ออกแบบบ้านลอยน้ำ ขนาดความยาว 20 เมตร ความกว้าง 13 เมตร สำหรับครอบครัว 6 คน โดยที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน พึ่งตนเองได้ และไม่สร้างมลภาวะให้กับสภาพแวดล้อม แต่สามารถลอยไปอยู่ที่ไหนก็ได้ทั่งท้องมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ โดยชื่อ Trilobis นี้ ได้ตั้งชื่อมาจากสัตว์โบราณตัวเล็กๆชื่อ Trilobiti ที่อาศัยอยู่ในทะเลมาตั้งแต่เมื่อ 500 ล้านปีที่แล้วมา ตัวบ้านลอยน้ำออกแบบเป็นทรงรีคล้ายไข่ไก่ ให้เหมือนเกาะลอยน้ำ สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วสูงสุด 7 น๊อต (เป็นเหมือนเรือยอชท์และเรือดำน้ำผสมกัน) โดยมีแหล่งพลังงานถึง 4 ประเภทคือ เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเยน พลังแสงอาทิตย์ พลังลม และดีเซล



          ตัวบ้านมี 4 ระดับโดยมีบันใดเวียนอยู่ตรงกลาง ชั้นบนสุดอยู่สูง 3.5 เมตร จากระดับน้ำทะเล (บ้านบนดิน เราวัดระดับสูงจากพื้น พออยู่ในน้ำเราก็เอาระดับน้ำมาเป็นเกณฑ์ เช่นกัน) ชั้นที่ 2 อยู่ในระดับ 1.4 เมตร เป็นส่วนที่ใช้เป็นทางเข้าออก ส่วนที่ใช้งานตอนกลางวันได้แก่ส่วนนั่งเล่น ทานอาหาร ครัวและส่วนบริการต่างๆ ส่วนด้านบนของบ้านจะดูเหมือนเป็นกระจกใสชมวิว แต่ที่จริงแล้ว มันเป็นกระจกสองชั้นที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ (electrolyte material) คือเปลี่ยนพลังงานความร้อนของแดดที่ส่องผ่านเข้ามาในส่วนนี้ ชั้นที่สาม จะอยู่ที่ระดับ 0.8 เมตร ใต้ระดับน้ำทะเล เป็นส่วนที่ใช้งานในช่วงกลางคืน คือห้องนอนเป็นหลัก 4 ห้องนอน ห้องนอนคู่ 2 ห้องและห้องนอนเดี่ยว 2 ห้องพร้อมห้องน้ำในตัว ซึ่งแน่นอนว่า เมื่ออยู่ใต้ระดับน้ำแล้ว เรื่องอากาศหายใจ ก็จำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยในการระบาย ถ่ายเทอากาศ ไม่สามารถปล่อยตามธรรมชาติได้ ชั้นล่างสุด อยู่ใต้ระดับน้ำ 3 เมตร ออกแบบเป็นหอสังเกตการณ์ใต้น้ำ เป็นกระจกใสโดยรอบ และเป็นส่วนที่เป็นแหล่งพลังงาน ประกอบด้วยมอเตอร์ขนาด 300 แรงม้า 2 ตัว ขับเคลื่อนด้วยเซลล์ไฮโดรเยน ซึ่งมีจำนวนจำกัด (ไม่ถึงกับจะแล่นข้ามมหาสมุทรไปไกลๆได้ แต่สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งที่ตั้งเพื่อไปสังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลงของท้องทะเลหรือแนวปะการัง บริเวณริมฝั่งทะเลได้ 









         ภาพแสดงระบบพลังงานทั้ง 4 แหล่งที่นำมาใช้

        นอกจากบ้านลอยน้ำนี้แล้ว สถาปนิกยังได้ออกแบบเกาะลอยสำหรับเป็นท่าเทียบสำหรับบ้านลอยน้ำนี้อีกด้วย เพื่อบริการหลังการขายได้ครบวงจรเลยทีเดียว ใครสนใจอยากได้ก็เตรียมเงินไว้สัก 130-165 ล้านบาท ไว้รอซื้อได้เลย ไม่แพงจริงๆ คริ คริ 



TraveLArounD

ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ 1300 เรื่องแล้ว 

ส่วนท่านที่ชอบเพลง background ผมได้รวบรวมเพลงไพเราะ เพลงรัก romantic และเพลงซึ้งๆ ที่หาฟังได้ยากในสมัยนี้ ไว้หลายชุด สนใจ email ติดต่อมาได้ครับที่ nana_sara1000@ymail.com

หลังจากที่ home’s lover club ที่ ning.com ต้องปิดลงไปเพราะเขาคิดค่าใช้จ่าย จึงจำต้องย้ายที่ ตอนนี้ผมเริ่มรวบรวมภาพต่างๆ ที่เกี่ยวกับการตกแต่งบ้าน การจัดสวน และที่ยังไม่ได้เอามาเขียน มารวบรวมไว้ที่ facebook ถ้าใครสนใจก็เข้าไปดูได้นะครับ ที่ http://www.facebook.com/reqs.php#!/nanasara1000?v=photos

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส 

เรื่องและภาพจาก 
http://www.sub-find.com/trilobis65.htm
และ Popular Mechanics November 2002ที่มาww.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=16-01-2008&group=16&gblog=19

Sports Facility Strijp / LIAG architects

 LIAG architects
Architects: LIAG architects
Location: , The Netherlands
Design Team: Erik Schotte, Thomas Bögl, Bruce Kee, Carina Nørregaard, Martin Pasman, Arie Aalbers and Hong Siem
Project Year: 2012
Project Area: 4489.0 sqm
Photographs: Vulkers Fotografie
Project Area: 4489.0 m2


          สปอร์ตคอมเพล็กซ์ที่ออกแบบโดย LIAG ตั้งเพื่อให้ผลงานอย่างต่อเนื่องเพื่อคุณภาพชีวิตในพื้นที่ Strijp จาก Eindhovenลักษณะที่น่าสนใจที่สร้างขึ้นโดย multicolouredness และความสนุกสนานของการออกแบบที่ทำให้อาคารทั้งโดดเด่นและน่าดึงดูดใจ  สปอร์ตคอมเพล็กซ์จะรวมอยู่ในเว็บไซต์โดยถูกล้อมรอบส่วนหนึ่งในบรรยากาศสบาย ๆ Green Hill นี้จะช่วยให้การสร้างระดับของมนุษย์







อัปเดตข้อมูล จาก archdaily.com เมื่อวันที่ 23/07/2555 

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555