บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน

ในรายวิชาอินเตอร์และการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม



วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

‘ซิกกูรัต’ เมืองแห่งอนาคต ชุมชนปลอดมลพิษ



          ยอดแหลมและผนังกระจกที่สะท้อนแสงแดดระยิบระยับ อาจทำให้คิดว่าสิ่งปลูกสร้างที่เห็นเป็นโปรเจ็กต์โมเดิร์นอาร์ต แต่ความจริงนวัตกรรมการออกแบบนี้คือพิมพ์เขียวของเมืองแห่งอนาคต ปิระมิดกระจกขนาดมโหฬารที่สามารถรองรับผู้อยู่อาศัยได้หนึ่งล้านคน
       
       โปรเจ็กต์นี้มีชื่อว่า ‘ซิกกูรัต' สามารถพึ่งพิงตัวเองและมีความเป็นกลางด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้พลังงานจากกังหันลม
       
      ภายในปิระมิดขนาด 2.3 ตารางกิโลเมตรไม่อนุญาตให้รถยนต์วิ่ง ผู้อยู่อาศัยจะเดินทางด้วยเครือข่ายรถไฟรางเดี่ยวที่มีให้บริการทั้งในแนวดิ่งและแนวระนาบ       
     เมืองแห่งอนาคตสามารถรองรับประชากรได้ 1 ล้านคน รักษาความปลอดภัยด้วยระบบตรวจสอบอัตลักษณ์ด้วยลักษณะทางกายภาพ โดยผู้อยู่อาศัยจะต้องสแกนใบหน้าก่อนเข้าบ้าน
       
     ไทม์ลิงก์ส บริษัทออกแบบในดูไบ จดสิทธิบัตรการดีไซน์และเทคโนโลยีนี้ไว้แล้วเพื่อจัดเตรียมทำโครงการในอนาคต
       
     ไรดัส มาโทนิส กรรมการผู้จัดการไทม์ลิงก์ส บอกว่า เมืองแห่งอนาคตจะเป็นจริงได้จากการควบคุมพลังธรรมชาติ พร้อมย้ำว่า ชุมชนซิกกูรัตแทบจะเรียกได้ว่าพึ่งพิงตนเองด้านพลังงานเบ็ดเสร็จ
     
      นอกเหนือจากการใช้ไอน้ำในอาคารแล้ว ซิกกูรัตยังใช้เทคโนโลยีกังหันลมเพื่อควบคุมแหล่งพลังงานจากธรรมชาติ

       
        อาคารจากจินตนาการเหลือเชื่อนี้จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง เพราะนอกใช้พลังลมแล้ว ยังห้ามการใช้รถยนต์ และไม่เพียงช่วยลดการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ซิกกูรัตยังใช้พื้นที่ไม่ถึง 10% จากการใช้พื้นที่ปกติ ทั้งนี้ เมื่อคำนวณจากจำนวนผู้อยู่อาศัย
       
      "ถ้าโครงการนี้เป็นจริงในวันนี้ โลกจะเห็นชุมชนที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่รายล้อมอยู่" มาโทนิสทิ้งท้าย



ที่มา :   
 http://www.manager.co.th

อาคารแห่งอนาคต สูงสุดคืนสู่ธรรมชาติ




matichon
เมื่อพูดถึง "อาคาร-สำนักงาน" ผู้คนอาจคิดถึงเฉพาะอิฐ หิน ดินทราย โต๊ะ เก้าอี้ที่ไม่มีชีวิต "วิลเลียม แม็กโดนาฟห์" ผู้ก่อตั้งบริษัทวิลเลียม แม็กโดนาฟห์ แอนด์ พาร์ตเนอร์ และสถาปนิกมือวางอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกา ด้านการออกแบบสร้าง "อาคารยั่งยืน" รับคำท้าของนิตยสารฟอร์จูน ฉบับเดือนพฤศจิกายน เพื่อออกแบบ "อาคารแห่งอนาคต" (Tower Of Tomorrow) ซึ่งสร้างขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน
ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ใช้พลังงานทางเลือก และมองดูสวยงาม ผลลัพธ์ที่ได้ เราจึงถอดความเรียบเรียงมารายงาน ดังนี้


โครงสร้างและการใช้งาน : Form and Function

โครงสร้างและการใช้งาน : Form and Function

โครงสร้างอาคารมีลักษณะโค้งมน ช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับตัวอาคารและเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้านใน รวมทั้งประหยัดวัสดุในการก่อสร้าง และตัวอาคารยังออกแบบตามหลักกลศาสตร์ ไม่ต้านแรงลมปะทะ



หลังคายอดไม้ : Treetops

หลังคายอดไม้ : Treetops


หลังคาอาคารในอดีตทำจากวัสดุแอสฟัลต์ ส่งผลให้พื้นผิวดูดซับความร้อนมากกว่าปกติ ทางแก้ทำโดยการนำเอาชั้นดินไปถมปกคลุมหลังคาเพื่อใช้ปลูกต้นไม้ ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิให้เย็นลง และดูดซับน้ำได้ระดับหนึ่งในกรณีที่เกิดพายุฝนตกหนัก 


ต้นไม้ให้ชีวิต : Soil and Green

ต้นไม้ให้ชีวิต : Soil and Green


พื้นที่ห้องโถง 3 ชั้นทางปีกฝั่งตะวันตกของตัวอาคาร ได้รับการปรับปรุงให้มี "สวน" อยู่ด้านใน ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนในตัวตึก และสร้างสภาพแวดล้อมให้มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น ส่วนโถงบริเวณฝั่งเหนือ ปลูกมอสเอาไว้ตามกระจกเพื่อช่วยกรองอนุภาคฝุ่นต่างๆ



รีไซเคิลน้ำ : Water Recycle
รีไซเคิลน้ำ : Water Recycle


กระบวนการรีไซเคิลนำ "น้ำใช้" ภายในอาคารมาใช้งานซ้ำมีหลายวิธี โดยน้ำจากอ่างล้างจาน รวมทั้งการทำความสะอาดทั้งหลาย จะไหลผ่านท่อมารวมกันเพื่อใช้หล่อเลี้ยงสวน ขั้นต่อมา เมื่อน้ำถูกกรองด้วยการซึมผ่านชั้นดินก็จะนำกลับมาใช้เป็นน้ำใช้ในห้องน้ำ เช่น น้ำชักโครก เป็นต้น



ถนนร่มเย็น : Street Smarts
ถนนร่มเย็น : Street Smarts


ถนนรอบตัวอาคารโอบล้อมไปด้วยต้นไม้กับสวน และมีการจัดวางโต๊ะเก้าอี้รอบๆ ตัวอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสูดอากาศบริสุทธิ์ นอกจากนั้น ลักษณะการออกแบบตัวตึกยังช่วยให้พื้นที่โดยรอบรับแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่อีกด้วย เหมาะสำหรับเมืองหนาว 


พลังงานแสงอาทิตย์ : Solar Power

พลังงานแสงอาทิตย์ : Solar Power 

ด้านข้างของอาคาร ตั้งแต่ยอดตึกจนถึงชั้นล่าง ติดตั้งแผงเซลล์สุริยะ หรือ แผงโซลาร์เซลล์ กินเนื้อที่ 100,000 ตารางฟุต เพื่อแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า

ไฟฟ้าที่ได้ใช้หล่อเลี้ยงพลังงานร้อยละ 40 ทั่วทั้งตัวอาคาร ปัจจุบัน แผงเซลล์สุริยะยังมีราคาสูงอยู่ แต่เชื่อว่าในอนาคตราคาจะลดลง เพราะรัฐบาลหลายประเทศเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของพลังงานทางเลือกประเภทนี้



ผนังหลากรูปแบบ : Building Skin

ผนังหลากรูปแบบ : Building Skin 

ผนังอาคารสร้างจากวัสดุหลายชนิด โดยคัดเลือกตามความเหมาะสมของพื้นที่ใช้สอยแต่ละจุด มีทั้งผนังฉนวนกันความเย็น-กันความร้อน ผนังกระจกโปร่งใส และผนังผลิตจากวัสดุที่ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ 


ที่ทำงานทรงประสิทธิภาพ : Productive workplaces

ที่ทำงานทรงประสิทธิภาพ : Productive workplaces


พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารสามารถดัดแปลงได้หลายรูปแบบ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์สำนักงาน ออกแบบตามหลัก "เออร์โกโนมิก" ช่วยให้ทำงานอย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพเต็มที่ และมีระบบเซ็นเซอร์ตรวจสอบจำนวนคนในห้องว่ามีกี่คนจะได้ปรับอุณหภูมิและระดับแสงส่องสว่าง ให้เหมาะสมเพื่อประหยัดพลังงานไปในตัว 


ขยะมีประโยชน์ : Waste equals food

ขยะมีประโยชน์ : Waste equals food


วัสดุและเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดในอาคารหลังนี้ ได้รับการออกแบบให้สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือใช้ซ้ำได้ทั้งหมด เพื่อลดการทำร้ายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น "เก้าอี้" เมื่อไม่ใช้หรือเสียแล้ว สามารถถอดออกเป็นชิ้นๆ ส่งให้บริษัทผู้ผลิตนำไปประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นอื่นๆ หรือ นำไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่



สู้ร้อนสู้หนาว : Heating and Cooling

สู้ร้อนสู้หนาว : Heating and Cooling


นอกเหนือจากไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว พลังงานอีกชนิดที่ใช้ป้อนระบบทำความร้อน หรือระบบทำความเย็นภายในอาคาร ซึ่งกินไฟเกือบถึงร้อยละ 30 ของอัตราการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดก็คือพลังงานจาก "ก๊าซธรรมชาติ" และชั้นใต้ดินยังมีระบบนำความร้อนจากใต้ดินมาใช้ภายในอาคารอีกด้วย 


วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

Hotel Pods


Hotel Pods
การจัดการด้านการท่องเที่ยวแห่งอังกฤษ คาดการณ์ว่า Hotel Pods น่าจะเป็น โรงแรมแห่งอนาคต ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสามารถติดตั้งบนพื้นที่ไหนก็ได้ในโลก โดยออกแบบให้พับเก็บและขนย้ายได้ง่าย เหมาะสำหรับนักเที่ยวติดหรูที่ชอบท่องไปยังที่ต่างๆ และจะขาดซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ได้ Hotel Pods ถือเป็นหนึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการลงทุนที่คุ้มค่า 
 
หากพื้นที่ใดเริ่มซบเซา หรือเกิดการก่อการร้าย ก็เผ่นและย้ายได้ทันท่วงที หาที่ใหม่ได้ทั่วโลก Pods เหมือนพาเราเข้าสู่ยุคอวกาศ ด้วยคอนเซ็ปต์ Active walls and floors แขกสามารถปรับเปลี่ยนดีไซน์ห้องพักได้ตามใจชอบ เพียงปลายนิ้วสัมผัส ไม่จำเจ ไม่เททรัพยากรทิ้ง!

he Inflatable Space Hotel


โรงแรมพองลม
โรงแรมแห่งอนาคต พองลมได้ เป็นการออกแบบที่พักอาศัยเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ขณะไปเยือนอวกาศ The Commercial Space Station Skywalker ออกแบบโดย Bigelow Aerospace แห่งลาสเวกัส โรงแรมพองลมนี้จะลอยเหนือโลก อยู่ที่ระดับ 515 กิโลเมตร พลังแสงอาทิตย์จะเป็นพลังงานหลักในส่วนต่างๆ ยานนี้จะถูกใช้เป็นพื้นฐานสำหรับเรือยอชท์อวกาศและเรือนำเที่ยวดวงจันทร์ ไฮเทคล้ำโลกขนาดนี้ ค่าห้องพักต่อคืนคาดว่าจะสูงถึง $1,000,000 !!
 นับวันยิ่งพาเราลอยลำออกไปนอกโลกขึ้นทุกที หรือนี่จะเป็นเทรนด์ โรงแรมแห่งอนาคต !

Hydropolis

โรงแรมแห่งอนาคต
โรงแรมแห่งอนาคต Hydropolis ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ Roland Dieterle มุ่งเป้าว่าจะเป็น รีสอร์ทใต้น้ำที่หรูหราที่สุดในโลก อยู่ลึกลงไปจากผิวน้ำ 66 ฟุต ที่ Persian Gulf ถัดจาก Jumeira Beach ในประเทศดูไบ 
โครงสร้างหลักทำจากเหล็กและคอนกรีต แขกผู้มาพักสามารถสัมผัสชีวิตใต้น้ำได้อย่างใกล้ชิด ผ่านผนังกระจกทนความร้อน เพดานโดมทรงบับเบิ้ลสุดล้ำ Hydropolis แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ลานรับแขกอุโมงค์ทางเชื่อมสำหรับรับ-ส่งนักท่องเที่ยวโดยรถไฟ ไปยังตัวโรงแรมซึ่งเป็นพื้นที่หลัก Hydropolis มีขนาดพอๆ กับ Hyde Park ของลอนดอน ถือเป็นโรงแรมระดับ 10 ดาว ประกอบด้วยห้องพัก 220 ห้อง คาดว่าจะราคาคืนละ $5,000

Voyager V1 or the Diamond Ring Hotel


 โรงแรมแห่งอนาคต
ข้อมูลยังไม่เป็นที่เปิดเผยนัก สำหรับ Voyager V1 หรือ The Diamond Ring Hotel โรงแรมแห่งอนาคตหน้าตาเหมือน ชิงช้าสวรรค์ ไม่มีผิด จะถูกเนรมิตตระหง่านที่ อาบูดาบี 
แนวคิดปรากฏชัดจากลักษณะโครงสร้างและชื่อ อยากสื่อให้รู้ “ท่องเที่ยวกันเถอะ!”

The Poseidon Undersea Resort

โรงแรมใต้น้ำ
โครงการ โรงแรมใต้น้ำ บนเกาะส่วนตัว ใน สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ อีกหนึ่ง โรงแรมแห่งอนาคต ที่ออกแบบโดย Bruce Jones ผู้คร่ำหวอดในวงการสร้างเรือดำน้ำมาช้านาน 
The Poseidon Undersea Resort จะตั้งอยู่ใต้ทะเลสาบ ขนาด 5,000 เอเคอร์ 
มีห้องพักสุดหรูขนาดพื้นที่ใช้สอย 550 ตารางฟุต สำหรับแขก 1,000 คนแรก ที่มาเยือนโรงแรมนี้ จะได้รับการจารึกชื่อฝังลงบนเกาะที่หนึ่ง และที่ก้นทะเลสาบอีกที่หนึ่ง!

Death Star Lunar Hotel Complex


โรงแรมพระจันทร์


โครงการ โรงแรมพระจันทร์ สุดล้ำบวกชิค คิดไกลโดย Heerim Architects มีแผนจะเนรมิต โรงแรมแห่งอนาคต นี้ ที่ เมือง Baku ประเทศอาเซอร์ไบจัน 
โดยโรงแรมหนึ่งมีโครงสร้างคล้าย Death Star จากหนังเรื่อง Star Wars มีลักษณะกลม ขอบโค้งมนและมีหลุมเล็กๆ อยู่ตรงมุมด้านบน อีกโรงแรมหนึ่งลักษณะคล้ายพระจันทร์เสี้ยว 
โรงแรมทั้งสองหันหน้าสู่ทะเล Caspian มีชื่ออันทรงพลังว่า Hotel Full Moon สูง 150 เมตร 35 ชั้น 382 ห้อง

เจ๋ง! สถาปนิกสร้าง เมืองโนอาร์



 เมืองลอยน้ำแห่งอนาคต ป้องกันภัยพิบัติ วันสิ้นโลก


ภาพสิ่งก่อสร้างดังต่อไปนี้ แลดูเหมือนฉากหนึ่งในภาพยนตร์ไซ ไฟ ที่ผ่านๆมา แต่ภาพของเมืองลอยน้ำนี้ กำลังจะกลายเป็นแม่แบบในการสร้างเมือง ของสถาปนิกชาวอเมริกัน  เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ หากเกิดมหาภัยพิบัติขึ้นมา
ทั้งนี้ โครงสร้างของเมืองออกแบบมาเป็นรูปแบบพีรามิดสามเหลี่ยม ให้ผู้พักอาศัยได้มากที่สุดถึง 4 หมื่นคน โดยมีเครื่องอุปโภค บริโภค โรงแรม ร้านค้า โรงเรียน สำนักงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนกับเมืองทั่วไป และใช้วัสดุรีไซเคิลและแผงโซล่าเซลล์ในการผลิตพลังงานด้วยตัวเอง


นอกจากนี้ สภาพแวดล้อม และบรรยากาศภายนอก จะล้อมรอบไปด้วยสวน ต้นไม้ที่ประดับประดาอย่างสวยงาม ส่วนการเดินทางนั้น จะใช้ลิฟต์ในการเดินทางขึ้น ลง
การสร้างเมืองดังกล่าวของสถาปนิก ได้แรงบรรดาลใจมากจาก บทเรียนที่กรุงนิวออร์ลีนส์ สหรัฐ ถูกพายุเฮอริเคนแคทารีนา พัดถล่มเมื่อปี 2005 ส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง


กลุ่มผู้ออกแบบ ต้องการสร้างเมืองนี้ให้อยู่ในอยู่ริมปากแม่น้ำมิซซิสซิปปี ที่สามารถป้องกันภัยพิบัติต่างๆได้ โดยเมืองโนอาร์ ย่อมาจาก “New Orleans Arcology Habitat”
นายเควิน สคอปเฟอร์ หนึ่งในทีมผู้ออกแบบ กล่าวว่า มีสามประการที่ทีมออกแบบคำนึงถึง คือ หนึ่ง
ความท้าทายในโครงสร้างที่จะรองรับและต้านทานหากเกิดภัยพิบัติ สองความปลอดภัยของผู้พักอาศัย และสาม แลความั่นคงของโครงสร้างที่มีพื้นดินรองรับอยู่ด้านล่าง
“มันเป็นโครงการที่ท้าทายมากในการสร้างเมืองนิวออร์ลีนส์ ให้กลายเป็นเมืองแห่งอนาคต” เขากล่าว

นครแห่งอนาคต

เมืองดูไบ นครแห่งสถาปัตยกรรมในอนาคต 
มหานครที่สร้างด้วยเงินและวิสัยทัศน์
เป็นบทพิสูจน์อย่างแท้จริงว่าเงินสามารถทำได้ทุกอย่าง










ตัวตึกเมื่อเสร็จแล้วหน้าตาจะมีอย่างนี้ครับ
ตึกนี้ได้แซง CN Tower จนเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 12 กันยาที่ผ่านมา
จะเป็นตึกที่สุดในโลกแน่นอน ที่ความสูงกว่า 800 เมตร



แต่ถึงกระนั้นความทะเยอทะยานก็ยังไม่สิ้นสุดครับ
เพิ่งจะการนำเสนอโปรเจคตึกที่สูงที่สุดในโลกใหม่ไปเมื่อปี2004
ตึก Al Burj ซึ่งจะตั้งอยู่ใจกลางของเกาะเทียม Palm Jumeirah ครับ
ความสูงของตึกนี้ไม่ธรรมดา.. เมื่อรวมกับเสาอากาศแล้วจะสูงเกิน 1 กิโลเมตรไปนิดนึง



ทีนี้มาดูเกาะเทียมซึ่งสร้างด้วยมือมนุษย์กันครับ 
นี่คือหมู่เกาะ Palm Jameirah.. ถมเองด้วยมือมนุษย์ครับ อลังการงานสร้าง




The Palm Jebel Ali เป็นชื่อของโครงการที่ 2 เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อปี 2002 และกำหนดแล้วเสร็จเมื่อปี 2007 โดยใช้เวลาในการก่อสร้างเพียง 5 ปีเท่านั้น ทั้งๆที่มีขนาดใหญ่กว่าโครงการแรกถึง 50% โดยก่อสร้างในรูปแบบเดียวกันคือ ผังภายนอกของโครงการได้รับการออกแบบเป็นรูปของต้นอินทผลัม ที่มี 17 กิ่งออกจากยอดของลำต้น และมีแนวกันคลื่นเป็นรูปทรงกลมคล้ายรัศมีจันทร์โดยรอบ เช่นเดียวกับรูปทรงของโครงการแรก
       โครงการนี้สร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชนชาวดูไบโดยเฉพาะ จึงต้องมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ แหล่งชอปปิ้งที่หลากหลาย แหล่งบันเทิงต่างๆ ที่อยู่ภายในร่มเงาของอาคารกลุ่มต่างๆ ขนาดใหญ่ ไปจนถึงสวนน้ำ สวนสาธารณะสำหรับชีวิตกลางแจ้งในยามที่อุณหภูมิของดูไบอยู่ในช่วงอบอุ่น อากาศเย็นสบาย

อันต่อมาเป็นเกาะเหมือนกันแต่แค่นี้ก็โคตรจะอลังการแล้วใช่ไหมครับ.. 
แต่ขอโทษ.. นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเขามีจำลองหมู่เกาะเทียมเหมือนกัน.. ทำเป็นรูปโลกครับ          ชื่อ The Worldเห็นว่าเกาะนี้มีราคาประมาณ30-40ล้านเหรียญ    สนใจอยากซื้อไหมครับ เผื่อจะได้ว่ายน้ำไปเที่ยวบ้านเบ็คแฮมกับบ้านชูมัคเกอร์เล่นๆ   ปัจจุบันเสร็จสิ้นไปแล้วประมาณ90%



ต่อไปเป็นโรงแรมคับ
Review : ภาพ

นี่โรงแรม Burj Dubai Lake Hotel 


โรงแรม Four Season ครับ
จะสร้างที่ Festival City.. เข้าใจว่าเป็นแหล่งชอปแหล่งสวนสนุก



โรงแรม Trump International Hotel 


โรงแรม The Apeiron Hotel


ย่าน Business Bay


ดูไบเป็นเมืองท่าครับ.. มีประชากรประมาณล้านกลางๆ
แต่อัตราเติบโตนี่สูงเหลือเชื่อ.. 
จาก6แสนกว่าในปี 95 กลายเป็น 1.2ล้านในสิบปีถัดมา
85%ของประชากรเป็นคนเอเชียครับ (รวมแขกตะวันออกกลางด้วย)
มีชาวตะวันตก (ฝรั่ง) อยู่ 3%



ประเทศนี้เป็นประเทศมุสลิม  แต่ว่าประชาชนมีสิทธิทางศาสนาเต็มที่ 
ด้านเศรษฐกิจ.. ดูไบมี GDP อยู่ที่46billion เหรียญครับ
ที่น่าแปลกใจคือในนั้นมีรายได้จากน้ำมันและปิโตรเลียม แค่3%  

เพราะเหตุใดนั้น.. ต้องติดตาม




วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ซามู อาร์คิเท็คเจอร์


ซามู อาร์คิเท็คเจอร์ เผยแผนก่อสร้าง “อีโคโดม” ที่เกาหลีใต้

25ม.ค.
        บริษัท ซามู อาร์คิเท็คเจอร์ เผยแผนก่อสร้าง “อีโคโดม”  หรือ “โดมเชิงนิเวศ” สำหรับโครงการ “อีโคเรี่ยม โปรเจ็ค” ของสถาบันนิเวศวิทยาแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงการด้านสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเมืองโซชอน (Seocheon) ประเทศเกาหลีใต้
       “อีโคโดม”  ดังที่เห็นในภาพเป็นเพียงส่วนหนึ่งในโครงการ “อีโคเรี่ยม โปรเจ็ค” ของสถาบันนิเวศวิทยาแห่งชาติ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 33,090 ตารางเมตร (ราว 20 ไร่) ในเมืองโซชอน (Seocheon) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเกาหลีใต้
       บริษัท ซา มู อาร์คิเท็คเจอร์ (เกาหลีใต้) เป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนา “อีโคเรี่ยม โปรเจ็ค” โดยรับผิดชอบในส่วนของ “อีโคโดม”  ที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกับอีโคโดมหรือเรือนกระจกของ “อีเดน โปรเจ็ค*” ในมณฑลคอร์นวอลล์ ของประเทศอังกฤษ

       “อีเดน โปรเจ็ค” ในมณฑลคอร์นวอลล์ ประเทศอังกฤษ ประกอบด้วยโดมที่เป็นรูปครึ่งวงกลมเชื่อมต่อกัน และหนึ่งในนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นเรือนกระจกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและศึกษาพรรณไม้ทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านต้น จาก 5,000 สายพันธุ์
         แต่แทนที่จะเป็นโดมรูปทรงกลมเชื่อมต่อ กัน ทาง ซามู ได้ปรับเปลี่ยนสไตล์การออกแบบเรือนกระจกให้มีดีไซน์ที่เก๋ไก๋ แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร โดยออกแบบให้มีรูปทรงคล้าย “ลิ่ม” และมีทางเดินในร่มเชื่อมต่อถึงกันได้หมด พร้อมทั้งติดตั้งเทคโนโลยีสุดทันสมัยไฮเทคสำหรับรับและเก็บแสงอาทิตย์เพื่อ นำมาใช้เป็นพลังงาน รวมทั้งระบบปรับสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น ภายในเรือนกระจกให้เหมาะสมกับชนิดของพรรณพืชในแต่ละโซน
         ส่วนวัสดุหลักที่ใช้ในการก่อสร้างอีโคโดม ประกอบด้วย แผงโลหะ กระจก 2 ชั้นแบบ Low-E (มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ) และ Low Iron   (กระจกใสพิเศษ)  ไม้ และ เพล็กซี่กลาส เป็นต้น
             ตัวแทนบริษัท ซามู เปิดเผยว่า “สถาบันนิเวศวิทยาแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์กัน ระหว่างระบบนิเวศทางธรรมชาติ การกระทำของมนุษย์ และสภาพอากาศ เพื่อหาแนวทางที่จะอยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้ได้อย่างกลมกลืน ปลอดภัย และยั่งยืน”
             ทางสถาบันฯ จะมีบทบาทสำคัญในการศึกษาวิจัย และกำหนดนโยบายต่างๆ  ทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีหน้าที่ส่งเสริม ตอกย้ำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติ โดยผ่านทางโปรแกรมการศึกษา และการจัดนิทรรศการต่างๆ
            และ “อีโคเรี่ยม โปรเจ็ค” นี่แหล่ะ ที่จะเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับประชาชน
           แต่โครงการด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้ชื่อ “อีโคเรี่ยม โปรเจ็ค” ของสถาบันดังกล่าวไม่ได้มีเพียงแค่ “อีโคโดม” เท่านั้น หากยังมีส่วนอื่นๆ ซึ่งอยู่ในระหว่างการยื่นแบบเสนอราคา แต่ท้ายที่สุดแล้วชาวเกาหลีใต้จะได้เห็นพื้นที่สงวนและอนุรักษ์พรรณไม้ป่า ขนาดใหญ่ เขตอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ  ศูนย์รับรองนักท่องเที่ยว และสถานีรถไฟ ภายในอาณาจักร “อีโคเรี่ยม โปรเจ็ค” แห่งนี้อย่างแน่นอน

เมืองลอยน้ำที่อยู่ชาวโลก

เมืองลอยน้ำที่อยู่ชาวโลก



Lilypad Skyscraper City

        ลอนดอน : ยังคงมีการออกแบบที่อยู่อาศัยในอนาคตของชาวโลกกันอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดเป็นผลงานจากบริษัทชิมิซึของญี่ปุ่นที่เสนอ “Green Float” ตามแนวคิดที่ว่า
มนุษย์ในอนาคตจะอาศัยอยู่ในเมืองลอยน้ำเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
เหมือนดอกลิลลี่น้ำขนาดยักษ์ที่แต่ละดอก ยังสามารถเชื่อมต่อกันกลายเป็นประเทศต่างๆ
ทั้งนี้ ลิลลี่แต่ละดอกกว้างขนาด 1 กิโลเมตร สามารถอาศัยอยู่ได้ระหว่าง 10,000-50,000 คน
ซึ่งผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะอยู่บนตึกระฟ้าสูงระดับ 1 กิโลเมตร
บริเวณใจกลาง และยังมีอีกมากที่อาศัยริมรอบนอก
ส่วนพื้นที่รอบตึกสูงจะเป็นพื้นที่ป่าและการเกษตร สำหรับทำให้เมืองเลี้ยงตัวเองได้
เป็นพื้นที่ทำการเกษตรเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ให้เพียงพอต่อความต้องการ

         ขณะเดียวกันเมืองลอยน้ำแต่ละเมือง ยังถูกออกแบบให้นำเทคโนโลยีสีเขียวมาใช้
เพื่อมุ่งหวังให้เป็นเมืองปลอดคาร์บอนอย่างแท้จริง
เป็นเมืองปลอดขยะ สามารถรีไซเคิลทุกอย่างและแปลงขยะเป็นพลังงานได้
โดยเชื่อว่าจะช่วยลดการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 40%
นอกเหนือจากนี้ยังสร้างเมมเบรนยืดหยุ่นติดรอบเมืองและกำแพงสูง 100 ฟุต
สำหรับป้องกันคลื่นใหญ่และสึนามิ คาดว่าเมืองลอยน้ำชุดแรกจะได้เริ่มสร้างราวปี 2025


ที่มา :  http://www.dailyworldtoday.com
             http://webecoist.com