บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน

ในรายวิชาอินเตอร์และการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม



วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

10 อันดับ ดีไซน์ของเกษตรกรรมแนวตั้งแห่งอนาคต

10 อันดับ ดีไซน์ของเกษตรกรรมแนวตั้งแห่งอนาคต

       มี การคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 ร้อยละ 80 ของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในตัว
เมือง จำนวนผู้คนที่เพิ่มขึ้น และการสูญเสียพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองที่เคยมีอยู่อย่างเล็ก
น้อยนั้น ทำให้หลาย ๆ ประเทศเริ่มมองหาการทำเกษตรกรรมในเมืองเพื่อเป็นแหล่งอาหาร
สำหรับประชาชน แต่สภาพแวดล้อมในเมืองนั้นไม่ได้มีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ไพศาล ดังนั้น
หนทางที่จะแก้ไขปัญหานี้ก็คือการสร้างมันขึ้นมา เกษตรกรรมแนวตั้งจึง กลายมาเป็นทาง
ออกที่เหมาะสมซึ่งนอกจากจะทำให้ทิวทัศน์ในเมืองดูดีมีชีวิต ชีวามากขึ้นแล้ว ยังสามารถ
เป็นแหล่งอาหารท้องถิ่นให้แก่ประชาชนได้อีกด้วย


ลำดับที่ 10

ตึกกระบองเพชร



ตึกกระบองเพชร

            ลอง จินตนาการดูสิว่าจะดีแค่ไหนหากคุณอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์หรือคอนโดแต่ ยังสามารถมีสวนผักเขียวขจีอยู่บนระเบียงอันกว้างขวาง ด้วยการออกแบบชั้นของตึกที่ลดหลั่นสลับกันไปมานี้ทำให้ผู้พักอาศัยมีพื้นที่ สีเขียวกลางแจ้งเป็นของตัวเอง ลบภาพลักษณ์เก่า ๆ เรื่องพื้นที่อันจำกัดและการห่างไกลจากธรรมชาติ เพราะตึกดีไซน์กระบองเพชรนี้จะช่วยให้เรามีโอกาสเฝ้ามองการเจริญเติบโตของ พืชอาหารที่บ้านของเราเอง


ลำดับที่ 9

ตึกแมลงปอ


ตึกแมลงปอ

              Brillian Belgian ออกแบบตึกสีเขียวนี้โดยได้แนวคิดมาจากปีกของแมลงปอ เสมือนประหนึ่งว่าเจ้าแมลงปอปีกเขียวนี้โบยบินจากท้องฟ้าลงมาสู่ รูสเวลท์ ไอส์แลนด์ นิวยอร์ก
เพื่อช่วยแก้ปัญหาช่องว่างด้านระยะทางระหว่างอาหารและผู้บริโภค โดยตึกแมลงปอนี้มี 132 ชั้น ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่เกษตรกรรมต่าง ๆ ได้แก่ แปลงผัก สวนผลไม้ ฟาร์มปศุสัตว์ ฟาร์มโคนม และไร่ธัญพืช นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับห้องวิจัย สำนักงาน หรือแม้กระทั่งที่พักอาศัยอีกด้วย


ลำดับที่ 8

ฟาร์มพีระมิด



ฟาร์มพีระมิด

              หลัง จากเกิดการเคลื่อนไหวเรื่องการสนับสนุนให้ทานอาหารในท้องถิ่น และเมื่อผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับอาหารที่สดใหม่และอาหารออร์แกนิกมากขึ้น ทำให้สถาปนิกต่าง ๆ ทุ่มเทกับการออกแบบอาคารเกษตรกรรมแนวตั้งในเมืองอย่างจริงจัง รวมถึงฟาร์มพีระมิดที่ออกแบบโดย Dickson Despommier และ Eric Ellison นี้ก็สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ทั้งหมด เนื่องจากภายในพีระมิดนั้นมีการทำการเกษตรแบบครบวงจร อีกทั้งยังผลิตพลังงานภายในสำหรับใช้กับเครื่องจักรต่าง ๆ ด้วย


ลำดับที่ 7

โดมกระจก แพลนตากอน



โดมกระจก แพลนตากอน

          ภายในศตวรรษนี้ประชากรโลกส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมือง และพื้นที่ทางการเกษตรที่เคยมีอยู่ก็จะค่อย ๆ ลดน้อยลงไป แพลนตากอน(Plantagon) จึงเป็นอีกหนึ่งงานออกแบบของสถาปนิกที่สร้างขึ้นมารับมือกับเหตุการณ์ดัง กล่าว โดยแพลนตากอนนี้อยู่ภายในตึกกระจกทรงกลม ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรมบนเกลียวขนาดใหญ่ ออกแบบโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างสวีเดนและสหรัฐอเมริกา คาดว่าแพลนตากอนนี้จะสามารถสร้างผลผลิตได้ภายใน 3-5 ปีนี้


ลำดับที่ 6

Harvest ตึกแห่งการเก็บเกี่ยว


Harvest ตึกแห่งการเก็บเกี่ยว

           ผลงานการออกแบบที่ได้รับรางวัลจากเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ชิ้นนี้ ใช้ชื่อว่า "Harvest" โดยตั้งใจสื่อให้เห็นอย่างตรงไปตรงมาว่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นจะเป็นแหล่ง เจริญเติบโตของผัก ผลไม้ สมุนไพร ปลา ไก่ไข่ หรือแม้กระทั่งแกะ และแพะที่สามารถให้ผลิตภัณฑ์จากนมได้ โดยภายในอาคารจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานใต้พิภพ และพลังงานลม นอกจากนั้นยังมีซุปเปอร์มาร์เก็ตสำหรับจำหน่ายสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ ศูนย์วิจัยและการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม รวมถึงพื้นที่อยู่อาศัยอีกด้วย


ลำดับที่ 5

สะพานลอนดอนโฉมใหม่


สะพานลอนดอนโฉมใหม่

            เชื่อหรือไม่ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการแปลงโฉมสะพานลอนดอน(London Bridge)ใน อนาคตนั้นที่จริงแล้วได้แรงบันดาลใจมาจากอดีต เนื่องจากในอดีตสะพานแห่งนี้เป็นที่พบปะค้าขายระหว่างพ่อค้าและประชาชน ปัจจุบันเป็นแหล่งของนักแสดงเปิดหมวก และมักสร้างความสับสนให้แก่นักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาสะพานทาวเวอร์ บริดจ์(Tower Bridge) แต่เมื่อสถาบันสถาปนิกของอังกฤษ(the Royal Institute for British Architects) ต้องการเห็นว่าสถาปนิกต่าง ๆ สามารถใส่จินตนาการอะไรลงไปในสะพานลอนดอนได้บ้าง จึงได้ผลงานชนะเลิศออกมาเป็นฟาร์มออร์แกนิกแนวตั้งขนาดใหญ่ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีกังหันลม และเป็นศูนย์กลางการค้าของตลาดสด นอกจากนั้นด้วยทำเลที่ติดกับท่าเรือยังส่งผลให้สามารถดำเนินการค้าทางน้ำได้ อีกด้วย



ลำดับที่ 4

ฟาร์มแนวตั้งในดูไบ


ฟาร์มแนวตั้งในดูไบ

            ประเทศดูไบขึ้นชื่อในเรื่องการสร้างอาคารที่ประณีตสวยงาม รวมถึงแนวคิดอาคารสีเขียวแห่งนี้ที่แต่ละชั้นมีลักษณะกลมแบน ดูทันสมัย โดยพืชที่ปลูกจะได้รับความชื้นผ่านน้ำทะเลที่ถูกส่งผ่านขึ้นไปตามแกนตรงกลาง



ลำดับที่ 3

ฟาร์มลอยตัว โดย Work AC



ฟาร์มลอยตัว โดย Work AC

            ฟาร์ม แนวตั้งชิ้นนี้เกิดจากการประกวดดีไซน์บนถนน Canal Street ของ New York Magazine โดยบริษัท Work AC ได้ออกแบบให้แตกต่างกับฟาร์มแนวตั้งทั่ว ๆ ไป เนื่องจากไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดยึดติดกับตัวอาคาร ตัวโครงสร้างตั้งได้โดยอิสระ มีเพียงเสาค้ำยันไว้เท่านั้น พื้นที่ด้านล่างสุดภายใต้ฟาร์มต่าง ๆ นั้น ได้รับการจัดสรรให้เป็นตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรที่ปลูกอยู่ด้านบนนั่นเอง



ลำดับที่ 2

ตึกหุ่นยนต์


ตึกหุ่นยนต์

             แนวโน้มเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงส่งผลให้หลาย ๆ โครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากไม่มีเงินมากพอที่จะทำต่อให้เสร็จ มีอยู่ไม่น้อยที่เพิ่งมีเพียงโครงร่างของตึกเท่านั้น บริษัทสถาปนิกเมืองบอสตัน Howeler and Yoon จึงตัดสินใจที่จะนำโครงร่างซากตึกเหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ด้วยการติด ตั้ง Eco-Pods หรือแคปซูลฟาร์มสาหร่ายซึ่งสามารถผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้ โดยจะมีแขนกลทำหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนแต่ละ Pod เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสาหร่ายที่ปลูกจะได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง



ลำดับที่ 1
ตึกเก่าก็เขียวได้

ตึกเก่าก็เขียวได้

              สาเหตุ หนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกคัดค้านการสร้างฟาร์มเกษตรขนาดใหญ่ในเมืองก็คือ เรื่องของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง Daekwon Park จึงเกิดแนวคิดในการใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างตึกระฟ้าต่าง ๆ มาทำให้เขียวขึ้น ด้วยการทำโครงสร้างฟาร์มแนวตั้งขึ้นมาติดบนผนังตึกด้านนอก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น