บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน

ในรายวิชาอินเตอร์และการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม



วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

อาคารแห่งอนาคต สูงสุดคืนสู่ธรรมชาติ




matichon
เมื่อพูดถึง "อาคาร-สำนักงาน" ผู้คนอาจคิดถึงเฉพาะอิฐ หิน ดินทราย โต๊ะ เก้าอี้ที่ไม่มีชีวิต "วิลเลียม แม็กโดนาฟห์" ผู้ก่อตั้งบริษัทวิลเลียม แม็กโดนาฟห์ แอนด์ พาร์ตเนอร์ และสถาปนิกมือวางอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกา ด้านการออกแบบสร้าง "อาคารยั่งยืน" รับคำท้าของนิตยสารฟอร์จูน ฉบับเดือนพฤศจิกายน เพื่อออกแบบ "อาคารแห่งอนาคต" (Tower Of Tomorrow) ซึ่งสร้างขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน
ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ใช้พลังงานทางเลือก และมองดูสวยงาม ผลลัพธ์ที่ได้ เราจึงถอดความเรียบเรียงมารายงาน ดังนี้


โครงสร้างและการใช้งาน : Form and Function

โครงสร้างและการใช้งาน : Form and Function

โครงสร้างอาคารมีลักษณะโค้งมน ช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับตัวอาคารและเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้านใน รวมทั้งประหยัดวัสดุในการก่อสร้าง และตัวอาคารยังออกแบบตามหลักกลศาสตร์ ไม่ต้านแรงลมปะทะ



หลังคายอดไม้ : Treetops

หลังคายอดไม้ : Treetops


หลังคาอาคารในอดีตทำจากวัสดุแอสฟัลต์ ส่งผลให้พื้นผิวดูดซับความร้อนมากกว่าปกติ ทางแก้ทำโดยการนำเอาชั้นดินไปถมปกคลุมหลังคาเพื่อใช้ปลูกต้นไม้ ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิให้เย็นลง และดูดซับน้ำได้ระดับหนึ่งในกรณีที่เกิดพายุฝนตกหนัก 


ต้นไม้ให้ชีวิต : Soil and Green

ต้นไม้ให้ชีวิต : Soil and Green


พื้นที่ห้องโถง 3 ชั้นทางปีกฝั่งตะวันตกของตัวอาคาร ได้รับการปรับปรุงให้มี "สวน" อยู่ด้านใน ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนในตัวตึก และสร้างสภาพแวดล้อมให้มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น ส่วนโถงบริเวณฝั่งเหนือ ปลูกมอสเอาไว้ตามกระจกเพื่อช่วยกรองอนุภาคฝุ่นต่างๆ



รีไซเคิลน้ำ : Water Recycle
รีไซเคิลน้ำ : Water Recycle


กระบวนการรีไซเคิลนำ "น้ำใช้" ภายในอาคารมาใช้งานซ้ำมีหลายวิธี โดยน้ำจากอ่างล้างจาน รวมทั้งการทำความสะอาดทั้งหลาย จะไหลผ่านท่อมารวมกันเพื่อใช้หล่อเลี้ยงสวน ขั้นต่อมา เมื่อน้ำถูกกรองด้วยการซึมผ่านชั้นดินก็จะนำกลับมาใช้เป็นน้ำใช้ในห้องน้ำ เช่น น้ำชักโครก เป็นต้น



ถนนร่มเย็น : Street Smarts
ถนนร่มเย็น : Street Smarts


ถนนรอบตัวอาคารโอบล้อมไปด้วยต้นไม้กับสวน และมีการจัดวางโต๊ะเก้าอี้รอบๆ ตัวอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสูดอากาศบริสุทธิ์ นอกจากนั้น ลักษณะการออกแบบตัวตึกยังช่วยให้พื้นที่โดยรอบรับแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่อีกด้วย เหมาะสำหรับเมืองหนาว 


พลังงานแสงอาทิตย์ : Solar Power

พลังงานแสงอาทิตย์ : Solar Power 

ด้านข้างของอาคาร ตั้งแต่ยอดตึกจนถึงชั้นล่าง ติดตั้งแผงเซลล์สุริยะ หรือ แผงโซลาร์เซลล์ กินเนื้อที่ 100,000 ตารางฟุต เพื่อแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า

ไฟฟ้าที่ได้ใช้หล่อเลี้ยงพลังงานร้อยละ 40 ทั่วทั้งตัวอาคาร ปัจจุบัน แผงเซลล์สุริยะยังมีราคาสูงอยู่ แต่เชื่อว่าในอนาคตราคาจะลดลง เพราะรัฐบาลหลายประเทศเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของพลังงานทางเลือกประเภทนี้



ผนังหลากรูปแบบ : Building Skin

ผนังหลากรูปแบบ : Building Skin 

ผนังอาคารสร้างจากวัสดุหลายชนิด โดยคัดเลือกตามความเหมาะสมของพื้นที่ใช้สอยแต่ละจุด มีทั้งผนังฉนวนกันความเย็น-กันความร้อน ผนังกระจกโปร่งใส และผนังผลิตจากวัสดุที่ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ 


ที่ทำงานทรงประสิทธิภาพ : Productive workplaces

ที่ทำงานทรงประสิทธิภาพ : Productive workplaces


พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารสามารถดัดแปลงได้หลายรูปแบบ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์สำนักงาน ออกแบบตามหลัก "เออร์โกโนมิก" ช่วยให้ทำงานอย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพเต็มที่ และมีระบบเซ็นเซอร์ตรวจสอบจำนวนคนในห้องว่ามีกี่คนจะได้ปรับอุณหภูมิและระดับแสงส่องสว่าง ให้เหมาะสมเพื่อประหยัดพลังงานไปในตัว 


ขยะมีประโยชน์ : Waste equals food

ขยะมีประโยชน์ : Waste equals food


วัสดุและเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดในอาคารหลังนี้ ได้รับการออกแบบให้สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือใช้ซ้ำได้ทั้งหมด เพื่อลดการทำร้ายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น "เก้าอี้" เมื่อไม่ใช้หรือเสียแล้ว สามารถถอดออกเป็นชิ้นๆ ส่งให้บริษัทผู้ผลิตนำไปประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นอื่นๆ หรือ นำไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่



สู้ร้อนสู้หนาว : Heating and Cooling

สู้ร้อนสู้หนาว : Heating and Cooling


นอกเหนือจากไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว พลังงานอีกชนิดที่ใช้ป้อนระบบทำความร้อน หรือระบบทำความเย็นภายในอาคาร ซึ่งกินไฟเกือบถึงร้อยละ 30 ของอัตราการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดก็คือพลังงานจาก "ก๊าซธรรมชาติ" และชั้นใต้ดินยังมีระบบนำความร้อนจากใต้ดินมาใช้ภายในอาคารอีกด้วย 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น